วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เครื่องมือช่างพื้นฐาน

เรื่อง เครื่องมือช่างพื้นฐาน
สาระสำคัญ
เครื่องมือแต่ละประเภทนั้นมีลักษณะการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน ผู้เรียนจะต้องมีความเข้าใจและศึกษาการใช้เครื่องมือแต่ละประเภท ให้สอดคล้องเหมาะสมกับงาน การเรียนรู้เรื่องเครื่องมือช่างพื้นฐานก็เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานของเครื่องมือแต่ละประเภท และวิธีการดูแลรักษาเครื่องมือได้อย่างถูกวิธี และสามารถนำเครื่องมือไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับการติดตั้ง ซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดสาระการเรียนรู้
เครื่องมือในงานช่างมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันตามลักษณะงานของแต่ละประเภท เช่น งานไม้ งานโลหะ งานไฟฟ้า งานปูน งานประปา เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ในงานช่างพื้นฐาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. เครื่องมือประเภทตัด
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดไม้ หรือโลหะหรือวัสดุอื่นๆ เครื่องมือตัดที่ใช้ในงานช่างพื้นฐานมีหลายชนิดแล้วแต่การใช้งาน มีดังต่อไปนี้
1.1 เลื่อย เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัด ทำด้วยโลหะเป็นแผ่นบางๆ มีฟันเป็นซี่ ซึ่งเลื่อยที่นิยมใช้กันทั่วไป คือ
1.1.1 เลื่อนลันดา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เลื่อยตัดและเลื่อยโกรก เลื่อยตัดใช้ตัดไม้ตามขวางของเสี้ยนไม้ มีฟันถี่จำนวนฟัน 8 – 12 ซี่ต่อความยาว 1 นิ้ว เลื่อยโกรกใช้ตัดไม้ตามความยาวของเสี้ยนไม้ มีฟันถี่จำนวนฟัน 5 – 8 ซี่ต่อความยาว 1 นิ้ว
1.1.2 เลื่อยหางหนู ลักษณะใบเลื่อยเรียวยาวไปตลอดแนว ใช้ในงานฉลุ แต่งวัตถุรูปทรงกลม หรือส่วนโค้ง ที่มีความยาวไม่มากนัก
1.1.3 เลื่อยมือ เป็นเลื่อยที่ใช้ในงานโลหะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนประกอบ คือ ตัวเลื่อยและใบเลื่อย ตัวเลื่อยเป็นโครงเหล็กมีด้ามหรือมือจับ ส่วนใบเลื่อยทำด้วยเหล็กกล้า ฟันเลื่อยมีทั้งชนิดละเอียดและหยาบ
การใช้และดูแลรักษาเลื่อย
1. ใช้ตะใบตกแต่งฟันเลื่อยอยู่เสมอ หลังจากทำความสะอาดซี่เลื่อยเรียบร้อยแล้ว
2. ถอดใบเลื่อยมือออกจากตัวเลื่อยเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว
3. ทาด้วยน้ำมันเครื่อง เพื่อรักษาใบเลื่อยไม่ให้เป็นสนิม
4. เก็บใส่กล่องเพื่อรักษาความชื้นและเพื่อป้องกันสนิม

1.2 คีม เป็นเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในงานช่าง มีหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการใช้งาน คีมที่ใช้ในงานช่างพื้นฐาน แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1.2.1 คีมสำหรับตัด เช่น คีมปากนกแก้ว ปากคีมมีความคมมาก ใช้สำหรับตัดลวดหรือตะปูที่มีขนาดใหญ่ไม่มากนัก
1.2.2 คีมสำหรับจับ มีลักษณะเป็นคีมปากยาวเรียวเล็ก ที่ปากคีมมีรอยฟันสำหรับไว้จับชิ้นงานเพื่อให้เกิดความกระชับไม่ลื่นหลุด
การใช้และดูแลรักษาคีม
1. เลือกคีมที่ใช้ให้เหมาะสมกับงาน
2. ทาด้วยน้ำมันเครื่อง เพื่อรักษาคีมไม่ให้เป็นสนิม
3. เก็บใส่กล่องเพื่อรักษาความชื้นและเพื่อป้องกันสนิม
1.3 กรรไกรตัดโลหะ ใช้สำหรับการปฏิบัติงานโลหะแผ่น เช่น แผ่นสังกะสี อลูมิเนียม แผ่นดีบุก เป็นต้น กรรไกรตัดโลหะมีหลายชนิด รูปร่างแตกต่างกัน กรรไกรที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ
1.3.1 กรรไกรตัดตรง ใช้สำหรับตัดแผ่นโลหะในแนวตรง
1.3.2 กรรไกรตัดโค้ง หรือเรียกกันว่ากรรไกรปากเหยี่ยว ซึ่งมีลักษณะปากกรรไกรงอโค้งใช้สำหรับตัดแผ่นโลหะที่เป็นส่วนโค้งหรือวงกลม
การใช้และดูแลรักษากรรไกร
1. เลือกกรรไกรที่ใช้ให้เหมาะสมกับงาน
2. ทาด้วยน้ำมันเครื่อง เพื่อรักษากรรไกรไม่ให้เป็นสนิม
3. เก็บใส่กล่องเพื่อรักษาความชื้นและเพื่อป้องกันสนิม
1.4 เหล็กสกัด เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดโลหะที่มีความหนามากๆ ให้ขาดออกจากกัน
การใช้และดูแลรักษาเหล็กสกัด
1. การจับและตอกสกัดด้วยค้อนควรระมัดระวัง เพราะอาจเกิดอันตรายได้
2. เลือกใช้เหล็กสกัดและค้อนที่ใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
3. ทาด้วยน้ำมันเครื่อง เพื่อรักษาสกัดไม่ให้เป็นสนิม
4. เก็บใส่กล่องเพื่อรักษาความชื้นและเพื่อป้องกันสนิม
2. เครื่องมือประเภทตอก
เครื่องมือประเภทตอก ได้แก่ ค้อน มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน ดังนี้
2.1 ค้อนหงอน ส่วนใหญ่ใช้กับงานช่างไม้ มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ส่วนหัวค้อนและด้ามค้อน ทำหน้าที่ตอกแลถอนตะปู
2.2 ค้อนหัวแบนและค้อนหัวกลม ใช้กับงานโลหะในการตอก ทุบ เคาะโลหะให้เป็นรูปทรงตามต้องการ
2.3 ค้อนเล็ก มีรูปร่างเล็ก น้ำหนักเบา ใช้ในงานตอกเข็มขัดรัดสายไฟฟ้า และงานไฟฟ้าทั่วไป
การใช้และดูแลรักษาค้อน
1. ก่อนการใช้งานควรตรวจสอบความเรียบร้อยของตัวด้ามและหัวค้อนให้แน่นและแข็งแรง
2. ถอนตะปูด้วยความระมัดระวัง
3. หลังจากใช้งานควรทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
3. เครื่องมือประเภทเจาะ
เครื่องมือประเภทเจาะ เช่น สว่าน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเจาะรู การเลือกใช้สว่านและขนาดของดอกสว่างต้องศึกษาความเหมาะสมกับงาน สว่านมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน ดังนี้
3.1 สว่านอัตโนมัติ สว่านชนิดนี้ใช้กับงานช่างไม้และงานประดิษฐ์ชิ้นงานที่ต้องการความประณีต ราคาไม่แพง ใช้งานได้สะดวก ไม่ต้องออกแรงมาก ดอกสว่านมีหลายขนาด สามารถถอดเปลี่ยนใช้งานได้ตามต้องการ
3.2 สว่านข้อเสือ ใช้กับงานไม้ในการเจาะรูบนเนื้อไม้ที่มีความหนามากๆ
การใช้และดูแลรักษาสว่าน
1. ไม่ควรกดแรงเกิดไปเพราะจะทำให้ดอกสว่านหักได้
2. ทาด้วยน้ำมันเครื่อง เพื่อรักษาสกัดไม่ให้เป็นสนิม





แบบทดสอบเรื่อง งานช่างกับครอบครัว จำนวน 10 ข้อ









วิชางานช่างพื้นฐาน (รหัสง.33101) ระดับ มัธยมศึกษาปีที่...

เรื่อง งานช่างกับครอบครัว จำนวน 10 ข้อ

โดย อ. .. โรงเรียน...

คำสั่ง เลือก หรือ เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด


ข้อที่ 1)
1. เมื่อนักเรียนใช้เครื่องมือช่างเสร็จแล้วขั้นตอนสุดท้ายควรทำอย่างไร

   รีบเก็บทันที

   ล้างทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง

   ชโลมน้ำมันและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

   ถูกทุกข้อ


ข้อที่ 2)
2. อุปกรณ์ใดไม่ใช่เครื่องมือสำหรับงานช่าง

   ตลับเมตร

   เลื่อย

   ฉาก

   เสียม


ข้อที่ 3)
3. ข้อใดเป็นการปฏิบัติงานช่างที่ถูกต้อง

   ใช้ไม้ตอกตะปู

   ใช้ไขควงเจาะรู

   ใช้ปากกาขีดเส้นบนไม้

   ใช้เลื่อยตัดไม้เพื่อเข้าฉาก


ข้อที่ 4)
4. กบใสไม้ที่ปรับคลองเลื่อยให้เรียบเรียกว่า

   กบล้าง

   กบผิว

   กบตัด

   กบโกรก


ข้อที่ 5)
5. ค้อนที่ใช้ในงานช่างไม้เรียกว่า

   ค้อนปอนด์

   ค้อนยาง

   ค้อนหงอน

   ค้อนโค้ง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น